ร้อยตำรวจเอกสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม อดีตรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานกรรมการบริษัท โอสถสภา จำกัด กลุ่มบริษัทในเครือโอสถสภา และนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ร.ต.อ.สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า เพชร (ซึ่งนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อจริงของบุตรชายคนโต) เป็นบุตรของนายสวัสดิ์ (บุตรชาย นายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งห้างขายยาโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) ต้นสกุลโอสถานุเคราะห์) และคุณหญิงล้อม โอสถานุเคราะห์ จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, วิทยาลัย วิลบราฮัม แอนด์ มอนสัน (WILBRAHAM & MONSON ACADEMY) รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และได้รับปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
ร.ต.อ.สุรัตน์ เคยได้รับเกียรติยศต่างๆ คือ รางวัลเกียรติคุณนักการตลาดไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544, ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 และปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539
นอกจากนี้ ร.ต.อ.สุรัตน์ ยังเป็นนักถ่ายภาพชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้สะสมกล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์การถ่ายภาพ ไว้กว่า 3,000 ชิ้น จนได้รับรางวัลศิลปินนักถ่ายภาพไทย จากสมาพันธ์การถ่ายภาพไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545, รางวัลผลงานภาพถ่าย เดอะอีเลฟเว่นไตรอังแนล (The XI Triennale) จัดโดย สถาบันลาลิทฆาลา (Lalit Kala Akademi) กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และรางวัลโฟโต้ซิตี้ซากามิฮาร่า สาขาเอเชีย จากงานเทศกาลภาพถ่ายแห่งเมืองซากามิฮาร่า ครั้งที่ 6 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549
ร.ต.อ.สุรัตน์ รับสืบทอดกิจการ บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด จากนายสวัสดิ์ บิดา โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด, กลุ่มบริษัทในเครือโอสถสภา, บริษัท โอสถสภา ไทโช จำกัด และกรรมการ บริษัท โอสถสภา ประกันภัย จำกัด, บริษัท ชิเซโด้ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไทย ฮาคูโฮโด จำกัด และบริษัท ฮาคูโฮโด (กรุงเทพฯ) จำกัด
สินค้าที่มีชื่อเสียงของเครือโอสถสภา เช่น ยาแก้ปวดทัมใจ, ยากฤษณากลั่นตรากิเลน, ยาธาตุ ๔ ตรากิเลน, ยาอมโบตัน, ลูกอมโอเล่, ลูกอมโบตันมินท์บอล, เครื่องดื่มเอ็ม-150, เครื่องดื่มลิโพวิตัน-ดี, เครื่องดื่มฉลาม, เครื่องดื่มเกลือแร่ เอ็ม-สปอร์ต, เครื่องดื่ม.357 แม็กนั่ม, เครื่องดื่ม ชาร์ค คูลไบต์, เครื่องดื่ม เอ็ม-แม็กซ์, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายทเวลฟ์พลัส, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเอ็กซิท และ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เบบี้มายด์ เป็นต้น
ร.ต.อ.สุรัตน์ เข้าสู่วงการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2512 ต่อมาเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม ในสมัยที่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อปี พ.ศ. 2518 และขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปีเดียวกัน ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แล้วดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2528 แต่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีออกใบอนุญาตนำไม้ซุงเข้าจากพม่า แล้วได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจน้อยที่สุดในบรรดารัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในคราวเดียวกัน เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลลงมติงดออกเสียง จากนั้นได้รับแต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ ของกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมา เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ในสมัยที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก่อตั้งพรรคขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 จากนั้น ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2539 เป็นตำแหน่งท้ายสุดทางการเมือง
ร.ต.อ.สุรัตน์ เป็นผู้ก่อตั้ง และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ก่อตั้ง และประธานมูลนิธิโอสถสภา ผู้ก่อตั้ง และประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้ก่อตั้ง และประธานมูลนิธิสวัสดี และประธานมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการสภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศส (ฝ่ายไทย) กรรมการมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย
ร.ต.อ.สุรัตน์ สมรสกับปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (สกุลเดิม เธียรประสิทธิ์) ซึ่งเป็นพี่สาวของสปัน เธียรประสิทธิ์ อดีตภรรยาของชรินทร์ นันทนาคร สุรัตน์และปองทิพย์มีบุตรชายสองคน คือ เพชร โอสถานุเคราะห์ (นักร้อง และนักดนตรี เจ้าของผลงานเพลง “เพียงชายคนนี้..ไม่ใช่ผู้วิเศษ” ที่โด่งดังเมื่อปี พ.ศ. 2530) และรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ซึ่งทั้งสองเข้ารับช่วงการบริหารบริษัทในเครือโอสถสภา และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ต่อจาก ร.ต.อ.สุรัตน์ ที่วางมือจากตำแหน่งบริหาร ต่อมาสมรสกับนางช่อพิภพ โอสถานุเคราะห์
ร.ต.อ.สุรัตน์ เข้ารักษาอาการปวดขา และขาบวม ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา 15.20 น. วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ขณะมีอายุ 78 ปี โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม ที่ศาลาเจ้าจอม วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร
ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ? สิทธิ เศวตศิลา ? หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ? มนตรี พงษ์พานิช ? บุญพันธ์ แขวัฒนะ ? สุวิทย์ คุณกิตติ ? พยุง นพสุวรรณ ? เจษฎา ตันติบัญชาชัย ? อรรถพล ชัยนันท์สมิตย์ ? ทองพูล ดีไพร
โกศล ไกรฤกษ์ ? พงส์ สารสิน ? สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ? มนตรี พงษ์พานิช ? ประยุทธ์ ศิริพานิชย์? เขษม ไกรสรรณ์ ? บุญพันธ์ แขวัฒนะ ? เฉลิม อยู่บำรุง ? สุวิทย์ คุณกิตติ ? สมศักดิ์ เทพสุทิน ? ระวี หิรัญโชติ ? เจษฎา ตันติบัญชาชัย ? อุทัย นิ่มสุวรรณ ? ปราโมทย์ ตามควร ? อำนวย ศิริทองสุข ? สยมภู เกียรติสยมภู